การให้ความรู้
เรื่องการชดใช้ทุน

กรณีไม่ไปปฏิบัติงานใช้ทุน หรือปฏิบัติงานไม่ครบ

จัดทำโดย หน่วยนโยบายและแผน งานบริหารยุทธศาสตร์และการงบประมาณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อไป

ทำไมต้องใช้ทุน?

สัญญาการเป็นนิสิตเพื่อศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ มีกฎระเบียบ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ เป็นระเบียบการชดใช้ทุนของนิสิตแพทย์เมื่อจบการศึกษา สำหรับรายละเอียดที่สำคัญของ การปฏิบัติงานชดใช้ทุน เมื่อแพทย์จบการศึกษา และต้องไปปฏิบัติงานชดใช้ทุน (บางส่วนของสัญญา ฯ ) มีดังนี้ ........

โดยที่รัฐบาลมีเจตจำนงมุ่งหมายให้นิสิตคณะแพทยศาสตร์ทุกคนทำงาน หรือรับราชการสนอง ความต้องการของประเทศชาติ ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว และ ในการนี้เป็นหน้าที่ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ คณะกรรมการ พิจารณาจัดสรรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษาไปปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือ องค์การของรัฐบาลต่าง ๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้ หรือ จะได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อจัดสรรนิสิต คณะ แพทยศาสตร์เข้าทำงาน หรือรับราชการสนองความต้องการของประเทศชาติ ที่จะดำเนินการให้สำเร็จผลสมความมุ่งหมาย (ในที่นี้จะใช้คำว่านิสิต แทนคำว่า นักศึกษา) โดยมีสาระสำคัญ คือ

ก. นิสิตแพทย์ทุกคนต้องทำสัญญา ฯ กับมหาวิทยาลัย เมื่อแรกเข้า โดยยินยอมปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสัญญา ฯ นั้น

ข. เมื่อสำเร็จการศึกษา ต้องยินยอมเข้ารับราชการ หรือ ทำงานจนครบกำหนดระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 3 ปี และ ไม่นับระยะเวลาระหว่างเข้ารับการศึกษาอบรมเพิ่มเติมรวมคำนวณ เข้าด้วย

ค. หากนิสิตแพทย์ไม่เข้ารับราชการ หรือ ทำงาน ตามที่คณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษา แพทย์มอบหมาย หรือ ไม่ปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด นิสิตแพทย์ต้องยินยอมรับผิดชดใช้เงินให้แก่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) ในทันที โดยที่มหาวิทยาลัยมิต้องทวงถาม และมหาวิทยาลัยมีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ผิดสัญญา ทั้งนี้ ถ้านิสิตแพทย์รับราชการ หรือ ทำงานไม่ครบกำหนดเวลา ต้องชำระเงินให้แก่มหาวิทยาลัยตามระยะเวลาที่ขาดโดย คิดคำนวณลดลงตามส่วนเฉลี่ยจากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้

แล้วต้องชำระเท่าไหร่?

โปรแกรม

คำนวณค่าปรับเบื้องต้น

วันที่บรรจุ :

วันที่ลาออก :




มีขั้นตอนอย่างไร?

ขั้นตอนการขอชำระค่าปรับชดใช้ทุน

เตรียมเอกสาร ดังนี้

  • แบบฟอร์มคำร้องขออนุมัติเลิกสัญญา
  • คำสั่งบรรจุ และคำสั่งลาออก
  • คำสั่งไปเข้ารับการอบรมต่าง ๆ (ถ้ามี) เช่น การไปอบรมแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งไม่ถือเป็นการปฏิบัติงานชดใช้ทุน

    ส่งเอกสารข้างต้น โดย

  • สแกนเอกสาร ส่งมาที่ E-mail : orasa.i@chula.ac.th หรือ thunwarat.s@chula.ac.th และแจ้งที่อยู่ที่แพทย์ต้องการให้ส่งเอกสารใบเสร็จรับเงิน
  • เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้แพทย์แจ้งหน่วยงานที่ไปปฏิบัติงานใช้ทุน ให้ทำบันทึกพร้อมแนบเอกสารคำสั่งบรรจุ คำสั่งลาออก และคำสั่งไปอบรมต่าง ๆ ตามมาภายหลัง
  • ส่งเอกสารดังกล่าวมาทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ หรือ EMS เพื่อเข้าระบบรับส่งเอกสารที่งานสารบรรณ หรือส่งด้วยตนเองที่ หน่วยนโยบายและแผน งานบริหารยุทธศาสตร์และการงบประมาณ ชั้น 6 อาคารอานันทมิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    การชำระค่าปรับทุน

    หลังจากส่งเอกสารแล้ว คณะแพทยศาสตร์ จะคำนวณค่าปรับใช้ทุน และแจ้งให้ทราบ เพื่อให้แพทย์ ชำระค่าปรับถูกต้องตามจริง โดยชำระได้ 2 วิธี ดังนี้

  • ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่บัญชี 045-288081-0 ประเภท ออมทรัพย์ และส่งหลักฐานการโอนเงิน และแจ้งที่อยู่ที่ต้องการให้ส่งใบเสร็จรับเงิน
    มาที่ อรสา เอี่ยมสะอาด E-mail : orasa.i@chula.ac.th
    หรือ ธันวรัตน์ สุวรรณดี Email : thunwarat.s@chula.ac.th
  • ชำระเงินค่าปรับด้วยตัวเองที่ หรือให้ผู้ปกครองมาแทน (กรุณานัดหมายกับเจ้าหน้าที่ก่อน) โดยสามารถนำแคชเชียร์เช็คตามยอดเงินที่ระบุไว้ สั่งจ่ายในนาม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรณีอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล) ตั๋วแลกเงิน(กรณีอยู่ต่างจังหวัด)

    รับใบเสร็จรับเงิน

    เมื่อคณะฯ ได้รับชำระค่าปรับใช้ชดทุนแล้ว งานคลังจะดำเนินการออกใบเสร็จรับเงินให้ และหน่วยนโยบายและแผน จะจัดส่งใบเสร็จดังกล่าวให้ตามที่อยู่ที่แพทย์ระบุไว้ทางไปรษณีย์ หรือ ทางอีเมล์

    หมายเหตุ หากแพทย์ใช้หนังสือค้ำประกันจากธนาคารมาค้ำประกัน ต้องชำระเงินค่าปรับทุนให้เรียบร้อยก่อน จึงจะขอรับคืนเอกสารการค้ำประกันได้